“ครูตู่” ผู้นำกิจกรรม หนึ่งในทีมลูกมะปรางจบช่างวังหลวง ฝีมือทางศิลปะจึงเยี่ยมยุทธ์ไม่ต้องพูดถึง“กระทงใบตอง” เป็นกิจกรรมแรกที่ดูไม่น่าจะยากแต่กลับพบว่าตัวเองเป็นคนที่สมาธิแตกซ่านที่สุดในกลุ่มเพราะทำออกมารูปทรงไม่เหมือนครูสอนเลย กระทงใบแรกแหลกสลายคามือระหว่างตัดใบกล้วยเพื่อแก้ตัวใหม่ จึงบอกตัวเองเบา ๆ “..สติหนอ สติหนอออออ..”กระทงใบที่สองจึงออกมารูปร่างหน้าตาดีขึ้นมาหน่อย หลังจากนั้น ครูตู่แจกมีดให้พร้อมสาธิตเรื่องการแทงหยวก“ไม่ยาก” ครูตู่บอก พร้อมฉายภาพกิจกรรมแทงหยวกที่เคยทำกับเด็ก ๆ ในโรงเรียนให้ดูนกที่บินอยู่บนยอดเขาหยวก เบ็ดตกปลาคันจิ๋ว ไปจนถึงหน้ากากแฟนซีที่ชวนให้นึกถึงละครเวทีเรื่องเดอะแฟนธอม ออฟ ดิ โอเปรา ล้วนเนรมิตรขึ้นมาจากต้นกล้วยได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจความพิธีรีตองและเป็นทางการของการแทงหยวกแบบช่างโบราณ ดูเขยิบเข้ามาสู่โลกปัจจุบันหรือจะพูดให้ถูกคือโลกจินตนาการของเด็ก ๆ ขึ้นมาอีกหน่อย“แจกมีดให้เด็ก ๆ ไม่อันตรายเหรอคะตอนทำกิจกรรม” มีคนหนึ่งในกลุ่มพวกเราถามขึ้นมา“เสี่ยง แต่เราไม่ปล่อยให้เด็กเสี่ยงตามลำพัง..” พี่แบตนักกิจกรรมชาวนครนายกและรับบทเป็นนักจิตวิทยาประจำทริปตอบ“ ของมีคมเราต้องระมัดระวังก็จริง แต่อีกมุมหนึ่งก็คือเป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักกับความเสี่ยงบ้าง พ่อแม่ได้ฝึกตัวเองว่าไม่ต้องเลี้ยงลูกทะนุถนอมมาก ให้เขาได้ผจญภัยบ้าง แต่เรายังอยู่ข้าง ๆ เขาและพร้อมเสี่ยงไปด้วยกัน เด็ก ๆ นั้นเมื่อถึงช่วงวัยหนึ่งเขาจะมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ เราวางตัวอย่าง เขาฝึกทำตาม ถ้าทำได้สำเร็จ นั่นคือการสร้าง Self Esteem ให้กับเด็ก ซึ่งจำเป็นมาก ๆ นะสำหรับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่..” ฉันนึกเห็นด้วย การรับรู้คุณค่าของตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ สำหรับมนุษย์ทุกคน ถือเป็นภูมิคุ้มใจในการใช้ชีวิต...
Author: admin
#พื้นที่เรียนรู้สวนปู่สม
“บ้านท่ามะปราง ถ้าจะว่าด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ ที่ตรงนี้เป็นรอยต่อที่เป็นที่ราบแห่งแรกที่ติดเขาใหญ่..” พี่หนึ่งบอก (เจ้าขอสวน)“คนที่นี่เริ่มตั้งถิ่นฐานมาได้สักห้าสิบกว่าปี อพยพกันมา มีทั้งคนลาวโคราช คนไทยทุ่งจากบ้านแบด บ้านนา บางอ้อ ส่วนมากรุ่นนั้นก็จะเป็นการจับจองที่ทำกินกัน..” เราเดินผ่านป่ายูคาลิปตัสต้นสูงใหญ่ “ที่นี่ตอนแรก ๆ พ่อพี่ก็เริ่มจากปลูกยูคาลิปตัสแหละ” พี่หนึ่งอธิบาย“ตอนนี้ก็พยายามเอาออกไปเยอะแล้ว เพราะยูคาเป็นไม้ต่างถิ่น หากินเก่ง ตายยาก และแย่งอาหารของพืชอื่น ๆ พอเอาออกไปบ้างก็เริ่มลงไม้ผลบ้าง กล้วยบ้าง หรือบางส่วนก็ปล่อยให้กลับคืนเป็นป่า”ฉันมองป่ายูคาลิปตัสแล้วก็นึกในใจ เรือกสวนไร่นาหลายแห่งกลายเป็นพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัส หรือต้นกระดาษ โดยมีการจูงใจให้เกษตรกรปลูกในที่ดินตัวเอง มีโรงงานมารับซื้อคืนเมื่อโตได้ขนาด แต่สิ่งที่ต้องแลกมาคือยูคาลิปตัสนั้นเป็นไม้ที่สามารถดูดซึมน้ำทางเรือนรากได้เก่ง ถ้าปลูกในที่แล้งจะดูดความชื้นไปจากดินในบริเวณนั้น ทำให้ต้นไม้อื่นรอบ ๆ ชะงักการเติบโต เดินมาสักพัก ก็มาถึงจุดไฮไลท์ของสวนปู่สม อุโมงค์ต้นไผ่ที่เขียวครึ้มอยู่เบื้องหน้า ทำเอาเราหลายคนอุทาน กิ่งไผ่สองด้านที่โค้งเข้าหากันเชื้อชวนให้เราเดินเข้าไปชม พื้นดินเบื้องหน้าถูกคลุมด้วยใบไผ่เป็นสีน้ำตาลอ่อนไล่เฉด แดดครึ้ม ๆ ของวันนี้ลอดผ่านกิ่งไผ่เบื้องบนลงมาเป็นลำแสงจาง ๆ “นี่มันเกียวโตชัดๆ!” ฉันพึมพำอยู่ในใจ พวกเราเดินมุดเข้าไปในป่าไผ่ มีเสียงคุยกันเบา ๆ บ้าง บางคนหยุดถ่ายรูปบ้าง พี่หนึ่งบอกว่าตอนแรกตั้งใจจะใช้พื้นที่ตรงนี้ เป็นพื้นที่ต้อนรับและทำกิจกรรม แต่ติดว่ามันอยู่ลึกเกินไป ลำบากเรื่องการจัดการพื้นที่ เลยเลือกใช้พื้นที่ด้านนอกแทน...
#สนับสนุนทุน เพื่องานพัฒนาสังคม
โครงการพลังรุ่นใหม่ พลังสังคม พร้อมสนับสนุน คนหนุ่มสาวใน 3จังหวัด คือ จังหวัดสระบุรี,ลพบุรี และ จังหวัดสิงห์บุรี มาช่วยแก้ไขปัญหาทางสังคม โดยเสนอกิจกรรมที่จะช่วยส่งต่อความรู้ /ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ /ฝึกลงมือทำ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ (เลือก 1 ประเด็น) 1 ส่งเสริมพลังบวกให้สุขภาพจิต/สุขภาพกายให้ดีขึ้น 2 เพิ่มทักษะความรอบรู้ การปรับตัวเพื่อรับมือกับปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ 3 เพิ่มทักษะ ความรอบรู้ เท่าทันสื่อดิจิตอล เปิดรับข้อเสนอไอเดียมันส์ๆ สร้างสรรค์ จากน้องๆทุกคน เงื่อนไขการสนับสนุน – เป็นไอเดียจากเด็กและเยาวชน อายุ 15-25 ปี รวมตัวกันไม่ต่ำกว่า 5 คน – มีพี่เลี้ยง 1 คนต่อโครงการ – เป็นไอเดียที่เด็กและเยาวชน สนใจและพร้อมลงมือทำด้วยตัวเองได้จริง – เป็นไอเดียที่ทำงานต่อเนื่องตั้งแต่มิถุนายน 2565 ถึง มกราคม 2566 – เป็นไอเดียที่มีเด็กและเยาวชน ไม่ต่ำกว่า 25...
#ใครเอามีดกูไปเล่น
ตอนเด็กๆจำได้ว่า ตาจะนั่งเหลาไม้ไผ่ที่ร่มต้นจันทร์ ตาขมักเขม้นทำงานทั้งวัน หน้าร้านของตาคือลานจันทร์หลังบ้าน ตะกล้า กระบุง สุ่มไก่ ไซดักปลา จะถูกแบกออกมาจากลานร่มไม้ ด้วยฝีมือพ่อค้าประจำที่จะแวะเข้ามาดูสินค้า สินค้าของตา ถูกแบกขึ้นหลังพ่อค้า ส่งต่อขึ้นบิ๊กอับเก่า ที่เราก็ไม่รู้ปลายทางอยู่ที่ไหน ตาพักการงานด้วยการ วางยาเส้น บนใบตองแห้งที่ยายเตรียมไว้ให้ ควันขาวคลุ้งส่งผ่านริมฝีปาก ตัดกับแสงยามบ่าย ประกายดวงตาเปี่ยมสุข ตาไม่เคยห้ามถ้าจะหยิบมีดมานั่งเหลาไม้ใกล้ๆแก ตาจะกระแอมดังในคอให้พอตกใจ ถ้าเรา แอบหยิบมีดประจำตัวแกมาเล่น มีดตาคมกว่าเล่มใดๆในบ้าน มันจึงเป็นที่หมายใจว่า ผมจะแอบเอามาใช้ ถ้าตาไม่อยู่ แต่ทุกครั้งที่แอบใช้ ตาก็จะรู้ และบ่นเบาๆว่า “ใครแอบเอามีดกูไปเล่น” ว่างจากงาน เหลาสาน ตาจึงถูกกวนบ่อยๆ จากหลานให้ทำนั่นทำนี่ให้ เช่น ปืนจากไม้ไผ่ รถจากท่อนไม้ ดาบไม้ หรือเรือจากต้นงิ้ว เพราะต้นงิ้ว หรือต้นนุ่น ไม้เบาลอยน้ำได้...
#นิยามความหมาย การเล่นอิสระ
Free play นิยาม ความหมาย กิจกรรมที่เด็กเลือกเล่นเอง โดยปราศจากมุมมองข้อกำ.หนดของผู้ใหญ่ ไม่ได้ถูกบังคับ ไม่มีการกำ.หนดรูปแบบหรือวิธีการเล่นที่ตายตัว เล่นโดยไม่หวังผลลัพธ์ นอกจากความสนุกสนาน ผู้ใหญ่ทำ.หน้าที่เป็นเพียงผู้ดูแลความปลอดภัย ไม่เข้าไปแทรกแซง ขัดจังหวะการเล่น และเฝ้าสังเกตอยู่ห่าง ๆนิยาม ความหมาย ตัวอย่างกิจกรรม การเล่นที่เด็กคิดขึ้นมาเอง เช่น เล่นบทบาทสมมุติจากเกมหมากฮอส โดยเด็กเอากระดานมาสมมุติเป็นบ้าน แล้วเอาตัวหมากมาเล่นเป็นพ่อแม่ลูก เล่นโดยไม่ได้หวังผลลัพธ์นอกจากความสนุกการเล่นที่เด็ก ๆ ช่วยกันคิดกฎกติกาการเล่น ทั้งเล่นกลางแจ้ง และในร่ม โดยเลียนแบบการทำงานและอาชีพของผู้ใหญ่ หรือคิดการละเล่นใหม่ๆ เพื่อแข่งขันในหมู่เพื่อนกันเองโดยเฉพาะ เช่น การเล่นสมมุติเป็นพ่อแม่ลูกครู-นักเรียนตำ.รวจจับโจร แข่งโยนก้อนหินโดยการทำ.หลุมหรือขีดเส้นแบ่งระยะการคิดค้น ทดลอง ประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ที่เกิดจากการเล่นโดยปราศจากโจทย์เงื่อนไขขอผู้ใหญ่ เช่น การนำ.กล่องเศษไม้ เชือก มาต่อเป็นรถ บ้านหรือตุ๊กตาการขี่จักรยาน การวิ่งเล่น การกระโดด การปีนป่าย ที่ปล่อยให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ผู้ใหญ่ดูอยู่ห่าง ๆ...
#การเล่นอิสระคือ
Free play การเล่นอิสระ (Free Play) การเล่นของเด็ก เกิดมาจากแรงผลักดัน (แรงขับ) ภายในของเด็กทุกคน ที่ ต้องถูกระบายออก วิธีการระบายออก คือ การเล่นอิสระ เพื่อสำรวจโลก และเรียน รู้ ผู้คน สิ่งแวดล้อม ( spencer 1896 และ Theresa Casey ) การเล่น เป็นธรรมชาติและความต้องการของเด็ก เด็กเล่นเพื่อความสนุกหรือ ผ่อนคลายอารมณ์ การเล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานด้วยความเพลิดเพลิน ส่ง ผลให้สมองไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว มีแรงจูงใจ และรู้สึกดี ทำให้สมองของเด็ก ๆ อยู่ในสภาวะพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างเต็มที่ การเล่นนอกจากจะทำให้เกิดความสุขแล้ว ยังช่วยบำบัดเยียวยาเด็กและช่วย บรรเทาความทุกข์ในใจของเด็กให้สู่ภาวะปกติและร่าเริงในเวลาที่ยากลำบากได้อีก ด้วย เพราะเวลาที่เด็ก ๆ เล่นจะเพลิดเพลินจนลืมความเจ็บปวดหรือความเจ็บป่วย...
#ย้อนวัยเยาว์กับ กวีหนุ่ม
กลุ่มไม้ขีดไฟชวนพี่เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ นักเขียนมากรางวัล อาทิรางวัลซีไรต์ รางวัลศิลปินศิลปาธร รางวัลแม่น้ำโขง ปีพ.ศ.2562 ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินในพำนักที่ไต้หวันและเซี่ยงไฮ้ตามลำดับ มาเล่าเรื่องเล่นในวัยเด็ก ที่เป็นส่วนหนึ่งในการบ่มเพาะตัวตน กวีมือดีของเมืองไทย —————————————————————————————— กลับไปเยี่ยมวัยเยาว์ ๐-เนิ่นนาน ในเรือนบ้านของวัยเยาว์แม้เศร้าหมอง มีเพียงแม่รองรับประคับประคอง และครรลองไม่รู้สิ้นจินตนาการ ฟากฝั่งที่เงียบเหงาเปล่าเปลี่ยวใจ ด้วยห่างไกลจากเรือนเหล่าเพื่อนบ้าน ล้วนไร่นาป่าพงและดงตาล นกขับขานควันไฟไผ่เสียดกอ ที่ภูตผีชิดใกล้จิตใต้สำนึก ค่ำคืนดึกสะพรึงเพริดพลางเกิดก่อ รูปเงาไม้ปรากฏล้วนคดงอ เคลื่อนไหวราวเปรตรอขอส่วนบุญ คือเรื่องเล่าตรึงติดจากวิทยุ เหล่าผีดุมากมายที่ใต้ถุน ทุกค่ำคืนไม่เคยเลยไม่เคยคุ้น มีอ้อมโอบแม่อบอุ่นที่คุ้นเคย เช่นเดียวกับนอกชานและลานดิน ที่คุ้นชินยามแสงวันนั้นเปิดเผย บางลำเรือในสายคลองก่อนล่องเลย บางคนเอ่ยทักฉันนั่งปั้นดิน เพียงดินเหนียวริมตลิ่งฉันนิ่งนั่ง อีกฟากฝั่งชุมชนใหญ่ในท้องถิ่น เสียงเริงเล่นสนุกสนานฉันแว่วยิน เห็นนกบินเมฆบ่ายในเบื้องฟ้า ดินเหนียวถูกนวดเฟ้นกลายเป็นควาย (พอแก่แล้วถูกขายให้โรงฆ่า?) เม็ดมะกล่ำดำแดงแต่งเป็นตา สัตว์นอนดินกินหญ้าช่างน่ารัก ละดินเหนียวอีกครู่สู่ลานบ้าน ขุดลำธารเติมแต่งเป็นแปลงผัก ก่อเศษไม้จัดวางสร้างบ้านพัก แล้วปักหลักพรักพร้อมเป็นลอมฟาง รายล้อมด้วยควายดินเหนียวยืนเคี้ยวเอื้อง แดดรองเรืองน้ำกระจะฟ้ากระจ่าง ยินแม่ไก่เรียกลูกเจี๊ยบเลียบเลาะพลาง หมาที่เลี้ยงเคียงข้างไม่ห่างกาย บ่อยครั้งดินเปล่าดายกลายเป็นกระดาษ ก้านไม้แทนดินสอวาดมวลเส้นสาย ริมตลิ่งน้ำเซาะก่อกองทราย ลงแหวกว่ายวาดหวังข้ามฝั่งคลอง ว่ายน้ำเป็นแม่วางใจให้จับเรือ ไม่รู้เบื่อกับเรือน้อยลอยละล่อง ฟ้าสีฟ้าดอกโสนเหลืองเรืองรอง...
#เล่นๆ ในทัศนะนักเขียนสารคดี
“ทำเล่นๆ…” แม้แต่เรื่องสำคัญที่สุดในชีวิตอย่างการบรรลุธรรม อริยสงฆ์ด้านกัมมัฏฐานวิปัสสนาอย่างพระอาจารย์คำเขียน สุวัณโณ ยังพร่ำสอนลูกศิษย์ลูกหาอยู่เสมอว่าให้ทำแบบเล่นๆ แล้วกับเรื่องอื่นใดอีกมากมายทั้งหลายแหล่ในชีวิต ทำไมเราจะไม่ทำแบบเล่นๆ กันเล่า? อะไรก็ไม่รู้ ที่ทำให้นับวันเรามีแต่ห่างจากเรื่องเล่นกันออกไปเรื่อยๆ อย่างแรกคงต้องชายตาไปที่ระบบการศึกษาแผนใหม่ ที่เด็กๆ ต้องแข่งกันเข้าไปอยู่ในห้องเรียนตั้งแต่ยังไม่ทันหย่านม ตามวิถีของการศึกษาเรียนรู้ในระบบที่เป็นอยู่นี้ การกระโดดโลดเต้นเที่ยวเล่นอย่างอิสระตามสัญชาตญาณของเด็กๆ อาจถือเป็นเรื่องไร้สาระ เสียเวลา น่าหวั่นวิตก เดี๋ยวเรียนไม่เก่ง ตามเพื่อนไม่ทัน ฯลฯ และอีกสารพัดความกังวลที่กลายเป็นเหตุกางกั้นเด็กยุคนี้ให้ห่างจากเรื่องเล่น-อย่างเป็นตัวของตัวเอง แล้วให้หันมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศในเรื่องใดเรื่องเดียว-แบบสวนเกษตรเชิงเดี่ยว บางทีเราอาจลืมไปว่าเครื่องบินนั้นเกิดจากพี่น้องที่ชวนกันเล่นเครื่องร่อนลงจากหน้าผา ไอแซค นิวตัน ก็อาจไม่มีโอกาสได้ค้นพบเรื่องโน้มถ่วงของโลก หากมีแต่คนคอยเรียกให้ทำการบ้านโดยไม่ยอมปล่อยให้นอนเล่นๆ ใต้ร่มไม้บ้างเลย นี่ยังไม่นับถึงประดิษฐ์กรรมด้านศิลปกรรมหรือนวัตกรรมทั้งหลาย ซึ่งล้วนแต่ต้องมาจากพื้นฐานความคิดอิสระที่จะต่อยอดไปสู่การเป็นผู้บุกเบิกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ดูเหมือนในภาษาอังกฤษจะเรียกสิ่งนี้ว่า Original สิ่งที่เด็กๆ ยุคใหม่มีโอกาสได้เล่นมากๆ มักเป็นการเล่นกับ “จอ” ประเภทต่างๆ สารพัด ซึ่งผมไม่กล้าแน่ใจเลยว่านั่นจะเรียกว่า เล่น ได้หรือไม่ การเล่นควรเป็นเรื่องที่ได้เคลื่อนไหวขยับกายได้เหงื่อ ได้ความแจ่มใส่ ได้สูดอากาศ ได้ทัศนียภาพ...
#เล่นกันมั้ย
กลุ่มไม้ขีดไฟ อยากชวนพี่ๆลุงๆน้าๆป้าๆยายๆมาเป็นแนวร่วมส่งเสริมการเล่นให้กับเด็ก เพราะการเล่น คือพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ กลุ่มไม้ขีดไฟ เตรียมชั้นปันเล่นไว้จำนวน 10 ชุดอยากให้พี่ๆที่สนใจช่วย 1.หาจุดวางที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย 2.ช่วยดูแลหมุนเวียนให้เด็กได้หยิบไปเล่น (ฟรี เอาไปเลย ไม่ต้องคืน) 3.กลุ่มไม้ขีดไฟ จะจัดส่ง ชุดของเล่น ประดิษฐ์ ศิลปะ DIY พร้อมวิธีทำ ไปให้อาทิตย์ เว้นอาทิตย์ ตลอด 2 เดือน เพื่อให้เด็กได้เข้าถึงการเล่นที่หลากหลาย 4.พี่ๆช่วยดูแล /ประชาสัมพันธ์ ให้เด็กรับรู้ เพียงแค่ท่านมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1.อยากให้เด็กในชุมชนได้เล่น 2.สามารถส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงชั้นของเล่นได้ 3.สามารถบริการจัดการ ดูแล แนะนำได้ เท่านี้ โดยที่ท่านไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น สมัครด่วน…กดตรงนี้เลย
ตามไปดูกลุ่มไม้ขีดไฟ สอนศิลปะ
เกาะติดขอบสนาม ตามไปดูกิจกรรมศิลปะสัญจร ที่กลุ่มไม้ขีดไฟสัญจรไปชวนเด็กๆ ในโรงเรียนขยายโอกาส ระดับประถม 4-6ตะลุยเข้าสู่โลกศิลปะที่หลากหลาย จำนวน 8 โรงเรียนๆละ 2 รอบ รวมๆแล้ว 16 รอบ มีเด็ก ๆ ที่ได้ผ่านกิจกรรมนี้ประมาณ600 คน ความน่าสนใจของกิจกรรมนี้อยู่ที่การตั้งสมมุติฐานว่า โรงเรียนขนาดเล็ก มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับวิชาศิลปะ ขาดครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และการเรียนศิลปะในโรงเรียนก็มักจะเรียนแค่วาดภาพระบายสี ท้ายที่สุด เด็กที่สนุกกับการวาดก็จะวาดได้ดีอยู่กลุ่มหนึ่ง ส่วนคนที่ไม่ถนัดวาดก็ไม่มีช่องให้เลือกลง ตกขอบไปตามระเบียบ เมื่อสมมุติฐานชัด กิจกรรมก็ชัดเจนว่า เด็กๆต้องได้เข้าสู่โลกแห่งศิลปะ อย่างหลากหลาย เด็กทุกคนต้องรู้สึกสนุก และภูมิใจกับผลงานของตัวเอง ต้องไม่มีผลงานของใครถูกโยนทิ้งถังขยะ กิจกรรมศิลปะสัญจรครั้งนี้จึงประกอบไปด้วย งานปั้น งานประดิษฐ์ของเล่นจากวัสดุใกล้ตัว งานสีที่ไม่ต้องวาด และงานภาพพิมพ์จากไม้ โดยมีข้อตกลงที่เด็กๆทุกคนต้องปฏิบัติตาม 3 อย่าง คือ ไม่มีคำว่า ทำไม่ได้แต่ให้พูดว่า “หนูทำได้” ผลงานทุกชิ้นสวยเท่ากันและ ให้ชมผลงานของเพื่อนแทนการล้อผลงานของเพื่อน เมื่อลงปฏิบัติจริง พบว่าสมมุติฐานของเรานั้น ไม่มีอะไรผิดพลาด โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่มีครูศิลปะ ครูคนไหนก็สอนศิลปะได้ และวิชาศิลปะมักไม่ถูกให้ความสำคัญ แถมบางโรงเรียนที่เจอ ...