#การเล่นอิสระคือ

#การเล่นอิสระคือ

    Free play  

        การเล่นอิสระ (Free Play) การเล่นของเด็ก เกิดมาจากแรงผลักดัน (แรงขับ) ภายในของเด็กทุกคน ที่ ต้องถูกระบายออก วิธีการระบายออก คือ การเล่นอิสระ เพื่อสำรวจโลก และเรียน รู้ ผู้คน สิ่งแวดล้อม ( spencer 1896 และ Theresa Casey ) การเล่น เป็นธรรมชาติและความต้องการของเด็ก เด็กเล่นเพื่อความสนุกหรือ ผ่อนคลายอารมณ์ การเล่นอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานานด้วยความเพลิดเพลิน ส่ง ผลให้สมองไม่ตึงเครียด มีภาวะตื่นตัว มีแรงจูงใจ และรู้สึกดี ทำให้สมองของเด็ก ๆ อยู่ในสภาวะพร้อมที่จะเรียนรู้อย่างเต็มที่

     การเล่นนอกจากจะทำให้เกิดความสุขแล้ว ยังช่วยบำบัดเยียวยาเด็กและช่วย บรรเทาความทุกข์ในใจของเด็กให้สู่ภาวะปกติและร่าเริงในเวลาที่ยากลำบากได้อีก ด้วย เพราะเวลาที่เด็ก ๆ เล่นจะเพลิดเพลินจนลืมความเจ็บปวดหรือความเจ็บป่วย ทางร่างกายได้ องค์กรวิชาการของแพทย์เด็กในสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่าจริง ๆ แล้ว “การ เล่นคือยา” ของเด็ก ๆ ทุกคน ในใบสั่งยาหมอจะระบุว่าเด็ก ๆ ต้องเล่นให้มากขึ้น ซึ่งนอกจากผลทางด้านกายภาพและจิตใจแล้ว ยังมีความสำคัญและมีส่วนช่วยใน การพัฒนาและสร้างเสริมสมองด้วย (Kathy Wong, 2563)

        การเล่นมีหลายแบบ และปกติเรามักจะคิดว่าการเล่นจะให้ประโยชน์อะไร และพยายามหาโครงสร้างของการเล่น เมื่อเล่นเพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ เรามักจะ นึกถึงกิจกรรม เกม ที่มีการกำหนดเงื่อนไขและจุดมุ่งหมายไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น เพื่อการเรียนรู้ เพื่อความสุข หรือเพื่อผ่อนคลาย แต่มีการเล่นอย่างหนึ่ง คือ การเล่น อิสระ ซึ่งเด็ก ๆ จะเลือกเล่นเอง โดยปราศจากมุมมองของผู้ใหญ่ หรือข้อกำหนด ของผู้ใหญ่ คู่มือการเล่น 9 บทที่ 1 แนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการแถลงองค์การสหประชาชาติในปี 2013 มีการระบุไว้ว่า การเล่นอิสระ คือการเล่นที่เด็ก ๆ คิดขึ้นมาเอง เล่นเอง ขับเคลื่อนการเล่นด้วยตัวเอง ด้วยแรง บันดาลใจของเขาเอง การเล่นเป็นเรื่องสนุก ไม่จำเป็นต้องมีจุดมุ่งหมายใด ๆ เป็น เรื่องที่ท้าทาย เปลี่ยนแปลงได้ ยืดหยุ่นได้ และที่สำคัญไม่ต้องมีการสร้างสรรค์ใด ๆ หรือผลผลิตใด ๆ สิ่งสำคัญของการเล่นอิสระ คือ การเล่นจากมุมมองของเด็กเอง (Kathy Wong, 2563 )

      “การเล่นอิสระ” คือ กิจกรรมที่เด็กเลือกจะทำขึ้นมาเอง ไม่ได้ถูกบังคับ ไม่ ได้มีกำหนดรูปแบบหรือวิธีการเล่นที่ตายตัว (ดังนั้นเล่นเกมในแทบเลตจึงไม่นับ) ยก ตัวอย่างเช่น เกมหมากฮอส เด็กอาจจะอยากเอากระดานมาสมมุติเป็นบ้าน แล้วเอา ตัวหมากมาเล่นเป็นพ่อแม่ลูก ก็ยังได้ การเล่นชนิดนี้ เด็กเขาไม่ได้หวังผลลัพธ์อื่น นอกจากความสนุกเท่านั้น (mommyandthekid.com, 11 พฤศจิกายน 2563)

     อะไรถึงจะนับว่าเป็นการเล่นอิสระบ้าง ?

1. เล่นโดยไม่มีเป้าหมาย ไม่ได้เล่นเพื่อให้พ่อแม่ชื่นชม ไม่ได้เล่นเพื่อจะได้ รางวัล

2. เล่นโดยเต็มใจ ไม่ใช่เล่นตามหน้าที่หรือถูกบังคับ

3. เล่นแบบสนุก รู้สึกดี ช่วยคลายความเหงา และความเบื่อ

4. เล่นโดยปราศจากกาลเวลา เมื่อเข้าสู่การเล่นเต็มที่ บางครั้งไม่ทันรู้ตัว เลยว่าใช้เวลาไปแค่ไหนแล้ว

5. เล่นโดยปราศจากตัวตน ไม่คอยกังวลถึงภาพลักษณ์ ด้วยเหตุนี้ เด็กจึง สวมบทบาท (role play) เป็นโน่นนี่ได้ง่าย

6. การเล่นเกิดขึ้นได้ทันที หรือด้นสด (improvise) โดยจะปรับเปลี่ยนและ ลื่นไหลได้ตลอดเวลา ทำให้ในโลกของเด็ก ๆ มีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ

7. เล่นโดยมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเล่นเป็นเรื่องสนุก เด็ก ๆ จึงอยากจะเล่นไปเรื่อย ๆ เมื่อพบกับอุปสรรคหรือความน่าเบื่อ เขาจะ ปรับกฎเกณฑ์ เปลี่ยนเงื่อนไข เพื่อให้การเล่นกลับมาสนุกได้อีกครั้ง

(https://medium.com/@flocklearning/born-free-เด็กถูกออกแบบมาเพื่อเล่น- 7eeacaf1fba3 : Oct 20, 2019, 11 กันยายน 2563)