เท่าทันสื่อ
สื่อในโทรทัศน์มากมายนับได้แค่ 3
ในสามประกอบด้วย 1.รายการบันเทิง 2.รายการขายของ 3.รายการให้ความรู้ ซึ่งเด็กในปัจจุบันใช้เวลาอยู่กับสื่ออย่างมากต่อวันและก็ใช้เวลาส่วนใหญ่ดูรายการบันเทิง
แล้วในบันเทิงมีอะไรบ้าง
ในบันเทิงที่เด็กๆได้ดูหากเราลองพิจรณาดูเราจะพบว่าในรายการเหล่านั้นก็จะมีภาพความรุนแรงในสื่อมีภาพของการโฆษณาแฝงมีคำพูดและพฤติกรรมที่เราไม่อยากให้ลูกหลานเราทำตาม
ทำอย่างไรล่ะในเมื่อสื่อคือธุรกิจพันล้านที่เขาอยากให้เราจบจ่ายสินค้าที่เขาโฆษณา ปิดทางนี้ก็หาทางเข้าหาเด็กจากนักคิดที่เรียนและคิดค้นวิธีการกันอย่างสุดชีวิต เท่าทันสื่ออาจเป็นแสงทีปลายอุโมงค์ พอจะเป็นความหวังในการปกป้องลูกรักของเราได้บ้าง
ทำอย่างไรให้เด็กได้เท่าทันสื่อ
ก็ต้องฝึกดูครับ ดูอย่างที่ผ่านๆมาไม่ได้แล้ว ดูแล้วพูดคุย ระหว่างนั้นก็ฝึกให้เด็กได้พูด ฝึกผู้ใหญ่ให้ฟัง(ข้อนี้สำคัญมากๆเด็กจะพูดหรือไม่พูดก็อยู่ตรงที่ผู้ใหญ่ฟังแล้วไม่ติ ฟังแล้วคิดตาม)
ถ้าในค่ายเราก็ใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ฝึกน้องๆให้กล้าแสดงออก ฝึกการเสนอความคิดเห็น ฝึกการฟัง พอพูดได้ ก็เริ่มให้คำถามในการดู เช่นดูแล้วรู้สึกอย่างไร ดูแล้วเห็นด้วยหรือไม่ วิทยากรก็หาข้อมูลมาเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกัน
กระบวนการเรียนรู้เท่าทันสื่อ สามารถทำได้กับกลุ่มเด็กประถมปลายขึ้นไปจนถึงกลุ่มชาวบ้าน เช่นครั้งหนึ่งที่กลุ่มไม้ขีดไฟนำคลิบเสียงรายการโฆษณาน้ำสมุนไพร ที่อ้างว่ารักษาโรคได้มาให้ชาวบ้านช่วยกันวิเคราะห์ซึ่งก็พบประเด็นให้เรียนรู้ของผู้เข้าร่วมได้มากมาย
เนื้อหาหลักที่เป็นโครงในการออกแบบกระบวนการเท่าทันสื่อ
เท่าทันกลยุทธ์ของสื่อคือผู้ผลิตสื่อมีเทคนิคมากมายเพื่อจูงใจให้เรา (ผู้บริโภค) สนใจและยอมจ่ายสตางค์ซื้อสินค้าหรือเชื่อตามแนวคิดของผู้ผลิตสื่อตามแต่ว่าจะสื่อไปทางใด กระบวนการแรกคือเน้นให้เห็นและฝึกให้เกิดทักษะในการชมสื่อโดยใช้คำถามหลักๆในการฝึกคือ
- สื่อบอกอะไร
- ดูแล้วรู้สึกอย่างไร
- เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
นำเสนอผลกระทบต่อเด็ก ปัจจุบันเด็กอยู่กับสื่อโทรทัศน์เป็นเวลานานเด็กอยู่หน้าโทรทัศน์ในวันหยุดมากกว่า 12 ชม./วัน (จากการเก็บข้อมูลกับเด็กในพื้นที่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างปี 2552-2553 ) ซึ่งนั่นทำให้เด็กศูนย์เสียโอกาสในการเล่นซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญของชีวิตซึ่งยังไม่นับคุณภาพสื่อหาความเหมาะสมกับเด็กที่ยากเต็มที
ร่วมกันค้นหาทางออก การค้นหาทางออก เป็นวิธีการที่เราผู้จัดกระบวนการไม่สามารถชี้นำหรือบอกได้ต้องใช้วิธีการร่วมกันค้นหา เพื่อหนทางที่เหมาะสมกับทุกคนและนำทางออกของแต่ละคนมาเสนอให้คนอื่นๆได้รับรู้ร่วมกันเช่นพ่อแม่ที่เป็นห่วงลูกคงต้องช่วยกันปฎิเสธสื่อที่ไม่เหมาะช่วยกันจัดเวลาสื่อดีให้เด็กได้ดู เป็นต้น
ในปัจจุบันกลุ่มไม้ขีดไฟยังคงเดินหน้า จัดกิจกรรมเรียนรู้เท่าทันสื่อ ให้กับเด็กจนถึงผู้ใหญ่ ภายใต้การสนับสนุนที่หลากหลาย เช่นหน่วยงาน มูลนิธิผู้ที่ดำเนินงานด้านสื่อและสถาปันการศึกษาต่างๆ
เพราะหวังว่าการสร้างความเท่าทันจะเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือความเปลี่ยนแปลงและจะเป็นกุญแจอีกดอกที่จะสามารถสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชน ได้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
childmedia.net | สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
กสทช
มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (กลุ่มมะขามป้อม) www.makhampom.net