คุ้นๆ กับคำดุนี้มั้ยของกินอย่าเล่น…วันนี้ชวนมาลองปรับมุมคิดสร้างโอกาสการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้เด็กกันกับ 3 ไอเดียชวนลูกเล่นกับอาหาร หยิบผักในตู้เย็นมาบดทำเป็นสีสร้างงานศิลปะชิ้นใหม่ ปล่อยให้ลูกได้ชิมรสชาติของอาหารในระหว่างที่บดหรือวาดรูป ปิดตาชิม สำรวจรสชาติทั้ง 5 คือ หวาน เปรี้ยว เค็ม ขมและกลมกล่อม เพื่อนำเสนอวัตถุดิบใหม่ๆ มะนาวหน้าบึ้ง แข่งกับลูกกินมะนาวหั่นชิ้นเล็ก หลังจากกินแล้วต้องทำหน้าให้นิ่งมากที่สุด ใครทำหน้าเหยเกก่อนคนนั้นแพ้ อาจเพิ่มความแปลกใหม่โดยเติมเครื่องปรุงอื่นลงไปเพิ่มเช่นน้ำผึ้ง เกลือ ให้ลูกได้รับรสที่หลากหลายขึ้นทุกมื้อคือโอกาสสอนลูกเรื่องรสชาติ ให้ลูกช่วยทำอาหาร ปล่อยให้ลูกชิมส่วนผสมทั้งก่อนปรุงและหลังปรุง พาลูกไปเดินตลาดหรือร้านอาหารต่างวัฒนธรรมนอกเหนือจากความสนุกสนานแล้ว แบบอย่างที่ดีก็สำคัญไม่แพ้กัน พ่อแม่ควรกินให้ลูกดูเป็นตัวอย่างก่อนชวนลูกกินอะไรก็ตาม อ้างอิง : หนังสือ Play To Progress (เล่นให้เป็นเล่นให้ไกล) โดย Allie Ticktin
Tag: <span>กลุ่มไม้ขีดไฟ</span>
เทศกาลเล่นอิสระ ครั้งแรก ประเทศไทย
เทศกาลเล่นอิสระ ครั้งแรกของประเทศไทย วันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2566 ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนมาสนุกกันลานเล่น เรียนรู้ในห้อง Work shop สอนทำของเล่นกลางแจ้ง พร้อมกิจกรรมพูดคุยสถานการณ์ การทำงาน และประสบการ์ผู้ปกครองในการพาลูกเล่น (เล่นยังไงให้ลืมโทรศัพท์) หมายเหตุ ห้องเรียน work shop ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า รับจำนวนจำกัด (รอลิงค์ลงทะเบียน 1 พฤศจิกายน 2566) วันศุกร์ ทุ่มกว่า ๆ ชวนคุณพ่อคุณแม่ คุณน้าคุณอา มาเพลินเพลงยุค 90 คลอๆไปตามๆ กัน รับรอง ร้องได้ทุกเพลง กับ จอห์นกับโย ผู้คัดสรรค์บทเพลงหลายๆ ยุคมานำเสนอให้ทุกคนได้เพลิน ในสวน วันเสาร์ ทุ่มกว่าๆ สนุกกับเสียง อูคูเลเล่ และพี่แอ๊ปเปิ้ล จะมาชวนขยับ ตามจังหวะ ช่วยกันเขย่าเครื่องเคาะ กับดนตรีสำหรับเด็ก...
#กิจกรรมธรรมชาติ ที่ The Tropical ECO Cafe’
กิจกรรมแรกเริ่มขึ้น พวกเรามามุงกันที่โต๊ะสีธรรมชาติ เกรซผู้ซึ่งเป็นบาริสต้าชงเครื่องดื่มอยู่เปลี่ยนบทมาเป็นครูสอนได้อย่างคล่องแคล่ว ดูใจเย็นและค่อย ๆ อธิบายเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสีต่าง ๆ จากพืชและหินไปจนถึงเทคนิคในการทำให้สีติดทนทานการเตรียมสีใช้ความอดทน สีธรรมชาติไม่เหมือนสีสำเร็จที่เราสามารถผสมน้ำใช้ได้เลยทันทีดอกไม้ใบไม้สีเขียว เหลือง แดง ให้ความงามต่างเฉดต่างโทนกัน เมื่อเอามาผสมกันบางทีก็เปลี่ยนเป็นสีอื่นเสียอย่างนั้น สีจากหินหรือดินมีความทึบแสงมากกว่า ผืนดินแต่ละแห่งเกิดเป็นpantone ที่ต่างกันอีก สิ่งเหล่านี้คือความสนุกและเสน่ห์ของสีธรรมชาติที่เชื่อว่าหลายคนอยากกลับไปลองทำที่บ้านตัวเอง พวกเราแบ่งกันผสมคนละสีสองสีแล้วเริ่มวาดลงในโปสการ์ดที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วเอาไปหนีบผึ่งไว้เรียงรายกันอยู่บนราว สตอรี่ของสีธรรมชาติในมุมมองของแต่ละคนออกมาในมุมที่ต่างกัน แม้จะเป็นสีจากการผสมชุดเดียวกัน ฉันมองโปสการ์ด..แล้วนึกอยากแต่งไฮกุประกอบสักบทหนึ่ง.. เทียบใบไม้แต่ละใบ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย ๆ ใกล้ตัวเรามาก คนเราอาจเห็นต้นไม้ ชอบเดินป่า แต่เรากลับไม่ได้สังเกตเรื่องรูปร่างหน้าตาของใบไม้ใกล้ตัว เราอาจจะคุ้นเคยกับเถาตำลึงที่ขึ้นอยู่ข้างบ้าน แต่บางครั้งมันก็อธิบายยากว่าหน้าตาของโคนและปลายใบตำลึงตัวผู้และตัวเมียนั้นต่างกันอย่างไร? เราอาจจะไม่ได้สังเกตว่ามดแดงบนต้นมะม่วงนั้นเริ่มต้นสร้างรังของพวกมันได้อย่างไร? หรือว่าแมงมุมที่ชักใยอยู่ตามต้นไม้นั้นเป็นแมงมุมกระโดดใช่หรือไม่? กิจกรรมนี้เตือนเราเรื่องการสังเกตสิ่งเล็กน้อยรอบตัวได้ดีทีเดียว สิ่งเล็ก ๆ ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นระบบนิเวศน้อย ๆ รอบ ๆ ตัวเรา.. นิเวศแห่งมิตรสหาย เกือบหนึ่งวันเต็มกับกลุ่มใบไม้ ต้องบอกว่าเป็นหนึ่งวันที่คุ้มค่า อาหารและเครื่องดื่มรสดีที่คนทำใส่ใจเรื่องวัตถุดิบที่ต้องมีที่มาที่ไป กิจกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ถ้าจะสรุปถึงความเป็น “ใบไม้” จากสิ่งที่ได้สัมผัส นอกเหนือจากความเป็นนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่มีแฟนคลับมากมาย เรายังเห็นมิตรภาพอันแน่นแฟ้นของเพื่อนที่พัฒนาขึ้นผ่านความรักความชอบในธรรมชาติเหมือนกัน บ่มเพาะความผูกพันด้วยกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อม ผ่านการร่วมทุกข์ร่วมสุข ใช้ความสนใจและความถนัดของแต่ละคนมาช่วยกันจนเกิดเป็น...
#ร้านคาเฟ่ที่ไม่ได้ขายแค่รสชาติของน้ำ
ทำไมเราถึงนิยามคาเฟ่ของกลุ่มใบไม้ที่ไม่ใช่แค่ขายรสชาติของน้ำ เพราะเรานับว่าเป็นคนชอบนั่งคาเฟ่คนหนึ่งและเราเองก็ไปหลายร้านมาแล้วโดยทั่วๆ ไปแล้วร้านคาเฟ่ที่เราเจอเป็นร้านที่ขายรสชาติของน้ำและมีมุมถ่ายรูปที่เป็นตัวเรียกให้ลูกค้าเข้าร้านเป็นหลัก แต่ในใจของฉันลึกๆกำลังตามหาคาเฟ่ที่เป็นมากกว่าสถานที่ที่ขายน้ำและถ่ายรูปและฉันก็เจอแล้วด้วยอาจจะไกลจากบ้านของฉันแต่ฉันก็อยากเก็บเรื่องราวการไปร้านคาเฟ่ของเก่ง ครั้งนี้ไว้เป็นความทรงจำดีๆที่ครั้งหนึ่งฉันไปนครนายกแล้วไปเจอสิ่งทำให้ใจของฉันเต้นแรงเพราะเรื่องราวที่รวมตัวกันจนเป็นกลุ่มใบไม้และร้าน Tropical E-co Cafe ตอนเก่งเล่าสิ่งที่ตัวเองทำฉันเห็นสายตาและความมุ่งมั่นในการทำงานสายธรรมชาติที่แท้จริงของกลุ่ม ด้วยสโลแกนง่าย” ความงาม ความจริง ความดี ” และเก่งก็เล่าว่า ทำยังไงก็ได้ทำให้คนเห็นความงามของธรรมชาติเพราะการเห็นความงามมันง่ายกว่าทำให้คนไม่เห็นความไม่งาม พอเห็นความงามก็ต้องทำให้เห็นความจริงด้วยว่าธรรมชาติไม่ใช่มีแค่ความงาม ธรรมชาติมันมีความเสมอภาพกับทุกคนและท้ายสุดความจริงบางอยากมันทำให้เราลุกขึ้นมาทำมันเป็นความดี นั่นแหละเป็นที่มาที่ไปของการสร้างอาสาสมัครที่มีคุณภาพของกลุ่มใบไม้ ส่วนTropical E-co cafe สร้างเพื่อเป็น Space ที่สนับสนุนการทำกิจกรรมทุกรูปแบบและทางกลุ่มใบไม้ก็ออกแบบกิจกรรมที่ให้ลูกค้าที่มาที่คาเฟ่ได้เรียนรู้ธรรมชาติผ่านงานศิลปะ หรือ วิทยาศาสตร์อีกด้วย วันนั้นพวกเราเลยกลายเป็นลูกค้าที่มาเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบร้านด้วยการเป็นนักสำรวจที่ไม่น้อยแล้ว ผ่านกิจกรรมการจำแนกใบไม้ ดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย และกิจกรรมที่เราชอบที่สุดคือสีจากธรรมชาติ ” สีจากธรรมชาติ” สีที่ได้จากดอกไม้ ใบไม้และก้อนหิน พวกเราสนุกกับตำดอกไม้เพื่อสกัดน้ำออกมา ขูดขีดหินกับกระดาษทรายและท้ายที่สุดคือการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยใช้สีที่พวกเราช่วยกันทำ นี้แหละเป็นร้านคาเฟ่ที่มากกว่าขายรสชาติของน้ำแต่ขายความสนุกและการเรียนในอีกรูปแบบหนึ่ง “แหล่งเรียนรู้นั่นเกิดได้ทุกที่ ไม่ใช่แค่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั่น”...
#สวนไฟฝัน เขามีไรกัน…
ขับรถตาม GPS เรื่อย ๆ ก็มาถึงบ้านขนงพระใต้ที่ตั้งของ “สวนไฟฝัน” ฐานที่มั่นของกลุ่ม “ไม้ขีดไฟ” ตรวจ atk แหย่จมูกจนน้ำตารื้น นั่งรอผลบนเก้าอี้ปิกนิกที่มุมหนึ่งไกล ๆ เสร็จแล้วถ่ายเซลฟี่ยืนยันว่าปลอดเชื้อโควิดจึงจะได้เข้าไปร่วมวงกับคนอื่นๆ อาคารหลังเล็กๆหลายหลังที่โอบล้อมสนามหญ้าเขียวๆเอาไว้ บอกได้ชัดเจนว่าที่แห่งนี้สร้างขึ้นมาเพื่อกิจกรรมค่ายและการรวมกลุ่มของผู้คน มีตาข่ายสำหรับให้เด็กๆปีนป่าย บ้านดิน เตาอบพิซซ่า มุมหนังสือและโต๊ะกลางลานสำหรับการนั่งรวมกลุ่มสนทนา นกกระรางหัวขวานคู่หนึ่งหากินแมลงอยู่บนสนามหญ้า ช่างเป็นบรรยากาศสบายๆ ยามเช้าที่เหมาะกับการทำความรู้จักกันยิ่งนัก เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้อยู่ที่การเรียนรู้และเอามาเล่าเรื่อง คนจัดไม่ได้บีบบังคับว่าจะต้องเขียนออกมาเป็นอะไร จะวาดก็ได้ จะเขียนก็ได้เต็มที่“ไม่ต้องเล่าเรื่องพวกพี่ก็ได้..” พี่กุ๋ยบอก เอ้าาา..ก็อุตส่าห์เหนื่อยยากจัดกิจกรรมขึ้นมา ก็ขอเล่าเสียหน่อยนะพี่นะ.. อย่างที่เกริ่นเรื่องสวนไฟฝันไปว่าเป็นพื้นที่จัดกิจกรรมของกลุ่มไม้ขีดไฟ Activist ที่ใครหลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ตัวเราเองโฉบไปโฉบมาและเคยแอบมาร่วมกิจกรรมที่จัดในโรงเรียนขนงพระเมื่อหลายปีก่อนเคยไปฟังเตหน่ากู่กลางป่าด้วยกันคราวที่พี่ชิ สุวิชาน มาเล่นที่เขาใหญ่ แล้วก็ห่างหายไปทำสิ่งที่ชอบ ๆ กันอยู่นานจนมาคราวนี้ วันที่โลกกลม ๆ หมุนมาครบรอบในช่วงหลายปี พี่กุ๋ยพี่เอ เล่าเรื่องชีวิตกิจกรรมและที่มาที่ไปของพื้นที่ตรงนี้ให้ฟัง เริ่มจากวัยหนุ่มสาวชาวค่ายแห่งรั้วรามคำแหง ผู้เชื่อว่าทักษะชีวิตนั้นสำคัญพอๆกับความรู้ ผ่านการขับเคลื่อนงานชุมชนมามากมายหลายประเด็น เมื่อจังหวะชีวิตเริ่มเข้าสู่การสร้างครอบครัว มีลูกและไม่อยากให้ลูกเติบโตในสังคมเมืองหลวง จึงปักหมุดพื้นที่ระยะทาง 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ เพื่อสร้าง “บ้าน” สักหลัง “ตอนสร้างบ้านที่นี่...
#เล่าเรื่องดูนกที่บ้านสวนมีกิน
ในเช้าวันที่สามของการเดินทาง ตารางของวันนี้จะเปลี่ยนไปนิดหน่อย เพราะวันนี้เราต้องตื่นเช้ากันเป็นพิเศษ เพื่อไปทำอีกกิจกรรมที่เรียกได้ว่าขาดไม่ได้จริงๆ นั่นคือการดูนก เราไปถึงบ้านสวนมีกินของพี่ปูราวๆ หกโมงเกือบเจ็ดโมงเช้า มันคือบ้านสวนเล็กๆ เมื่อเดินเลยป้ายหน้าที่ติดไว้ตรงประตูหน้าเข้าไปก็จะเจอกับบ้านไม้สองชั้นที่พี่ปูใช้เป็นทั้งที่อยู่และที่ทำกิจกรรม เดินลึกเข้าไปหน่อยก็จะเป็นศาลาริมน้ำที่บรรยากาศดีมาก จากตรงนี้สามารถมองออกไปเห็นเขาใหญ่ได้เลย ซึ่งจุดเด่นที่ใครเข้ามาก็ไม่พลาดแน่ๆ คือต้นไม้ใหญ่ที่ล้อมอยู่รอบๆ มันคือไม้ใหญ่ที่เป็นไม้ดั้งเดิม ไม่ใช่ไม้ที่ปลูกใหม่ตอนที่พี่ปูเพิ่งย้ายเข้ามาแน่ๆ พร้อมกับเสียงนกร้องอยู่รอบตัว เสริมให้อากาศเย็นๆ สบายเข้าไปอีก เมื่อเข้ามาถึงเราก็ทำการแนะนำตัวกัน แนะนำอุปกรณ์ แล้วก็ไปลุยกันโลด เช้านี้อากาศกำลังดี ไม่ร้อนเกินไป และเหล่านกทั้งหลายก็ดูจะเห็นด้วย คือถ้าไม่ใช่เพราะนัดกันมาก่อนก็คงเป็นเพราะแถวนั้นนกเยอะจริงๆ ด้วยความที่เป็นนกทุ่ง ข้อดีของมันคือหาง่าย จะไม่ค่อยซ่อนอยูใต้ร่มไม้เหมือนนกป่า แต่ข้อเสียคือบางครั้งมันก็หน้าตาเหมือนกันมาก ทำให้ถ้าไม่เซียนจริงก็อาจจะจำแนกได้ยาก แต่ไม่ต้องกลัว เพราะเรามีพี่ปูมาเป็นคนนำเราดูนกซะอย่าง ตัวแรกที่เราได้เห็นคือนกเขาชวาที่อยู่ดีๆ ก็บินมาเกาะบนพื้นตรงหน้าเหมือนกับเตี๊ยมกันมา ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีว่าวันนี้เราจะได้เห็นนกแน่ๆ (ก็เห็นนกเขาชวาแล้วนี่ไงตัวนึง) ซึ่งสุดท้ายเราก็ได้เห็นนกทั้งหมด 17 ชนิดจากเดินส่องกันราวๆ หนึ่งชั่วโมง ระหว่างที่ดูไป เวลาที่เราเจอนกตัวไหนพี่ปูก็จะตั้งสโคปให้พวกเราได้ดูกันชัดขึ้น แล้วก็มาลงคะแนนเสียงกันว่ามันคือนกตัวไหนจากเบิร์ดไกด์ หนังสือดูนกที่มีนกของแทบทั้งประเทศอยู่ใ ทำให้การดูนกสนุกขึ้นมาก เพราะเราไม่ได้แค่ดูแล้วรู้ว่าตัวไหน เราได้ใช้เวลาค่อยๆ ดู ทั้งจากลักษณะทั่วไปจนถึงลักษณ์เด่น ซึ่งก็ถูกบ้างผิดบ้างตามประสามือใหม่ทั้งหลาย แต่ก็คือได้รู้เรื่องนกจากพี่ปูมากกว่าที่ได้รู้ในหนึ่งปีซะอีก หลังจากนั้นเราก็กลับมาที่บ้านสวนมีกิน พี่ปูให้เราวาดรูปนกหนึ่งตัวที่ประทับใจ ซึ่งผมเลือกนกกวัก นกท่าทางตลกที่เราได้เจอกันมา...
#How to ดูนก
ลองหามุมสงบๆ รอฟังเสียงรอบๆตัว ไม่ว่าจะในเมืองหรือชานเมือง ไม่ยากเกินไปนัก ที่เราจะได้พบนกรอบๆ ตัวเรา เมื่อเราสังเกตุให้ดี หรือลองเข้าไปสำรวจโลกของนก เราจะพบความรื่นรมณ์ ที่อาจหาได้ยากจากกิจกรรมอื่นๆ วันนี้ไปดูกันว่า เราจะได้พบอะไรบ้าง เมื่อเรา How to ดูนก 5 สิ่งในการค้นพบ เมื่อ…ออกไปดูนก ในเบื้องต้น 1.. ความเงียบสงบ การรอค่อยชื่นชมส่องดูนก หัวใจสำคัญหนึ่ง คือ ความเงียบ สงบนิ่ง อยู่เฉยๆอย่างเป็นมิตร 2..ใกล้ชิตอยู่กับธรรมชาติ ได้อยู่กับธรรมชาติ ต้นไม้นานาชนิด ท้องทุ่งนา ในธรรมชาติต่างๆที่นกเขาอยู่อาศัย 3..นก นกแต่ละชนิด สายพันธุ์ จะมีสีสัน กิริยา พฤติกรรม แตกต่างกัน ถึงถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นรายละเอียดที่น่าสนุก ชวนค้นหา ชื่นชม รับรู้ 4..พอเจอนก เมื่อพบเจอนกส่องดูรายละเอียดดีแล้ว เสน่ห์เด่นๆ เลยคือ หาดูนกชนิดนั้น ในหนังสือดูนก เริ่มจากดูหน้าที่ 2 ก่อนเลย ว่านกที่เราเห็น...
นกทำให้ฉันเปลี่ยนไป
ฉันไม่เคยคิดไม่เคยฝันว่า ฉันต้องไปเกี่ยวข้องกับการดูนกอีกครั้ง นานมาแล้วเมื่อฉันเป็นนักศึกษา ฉันเคยไปดูนกกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่นครนายก ตอนนั่นฉันยังไม่เข้าใจหรอก ว่าทำไมต้องดูนก ตอนเขาให้กล้องส่องมา ฉันก็แค่เนียนๆดูไปงั้นแหละ ไม่เข้าใจ ไม่สนใจด้วยซ้ำ ไม่ตื่นเต้น นั่นก็คือตัวฉันในอดีต (ในภาพ พี่ปู กลุ่มต้นกล้า) ...
#ห้องเรียนต้นกล้วย
“ครูตู่” ผู้นำกิจกรรม หนึ่งในทีมลูกมะปรางจบช่างวังหลวง ฝีมือทางศิลปะจึงเยี่ยมยุทธ์ไม่ต้องพูดถึง“กระทงใบตอง” เป็นกิจกรรมแรกที่ดูไม่น่าจะยากแต่กลับพบว่าตัวเองเป็นคนที่สมาธิแตกซ่านที่สุดในกลุ่มเพราะทำออกมารูปทรงไม่เหมือนครูสอนเลย กระทงใบแรกแหลกสลายคามือระหว่างตัดใบกล้วยเพื่อแก้ตัวใหม่ จึงบอกตัวเองเบา ๆ “..สติหนอ สติหนอออออ..”กระทงใบที่สองจึงออกมารูปร่างหน้าตาดีขึ้นมาหน่อย หลังจากนั้น ครูตู่แจกมีดให้พร้อมสาธิตเรื่องการแทงหยวก“ไม่ยาก” ครูตู่บอก พร้อมฉายภาพกิจกรรมแทงหยวกที่เคยทำกับเด็ก ๆ ในโรงเรียนให้ดูนกที่บินอยู่บนยอดเขาหยวก เบ็ดตกปลาคันจิ๋ว ไปจนถึงหน้ากากแฟนซีที่ชวนให้นึกถึงละครเวทีเรื่องเดอะแฟนธอม ออฟ ดิ โอเปรา ล้วนเนรมิตรขึ้นมาจากต้นกล้วยได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจความพิธีรีตองและเป็นทางการของการแทงหยวกแบบช่างโบราณ ดูเขยิบเข้ามาสู่โลกปัจจุบันหรือจะพูดให้ถูกคือโลกจินตนาการของเด็ก ๆ ขึ้นมาอีกหน่อย“แจกมีดให้เด็ก ๆ ไม่อันตรายเหรอคะตอนทำกิจกรรม” มีคนหนึ่งในกลุ่มพวกเราถามขึ้นมา“เสี่ยง แต่เราไม่ปล่อยให้เด็กเสี่ยงตามลำพัง..” พี่แบตนักกิจกรรมชาวนครนายกและรับบทเป็นนักจิตวิทยาประจำทริปตอบ“ ของมีคมเราต้องระมัดระวังก็จริง แต่อีกมุมหนึ่งก็คือเป็นการฝึกให้เด็กได้รู้จักกับความเสี่ยงบ้าง พ่อแม่ได้ฝึกตัวเองว่าไม่ต้องเลี้ยงลูกทะนุถนอมมาก ให้เขาได้ผจญภัยบ้าง แต่เรายังอยู่ข้าง ๆ เขาและพร้อมเสี่ยงไปด้วยกัน เด็ก ๆ นั้นเมื่อถึงช่วงวัยหนึ่งเขาจะมีพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ เราวางตัวอย่าง เขาฝึกทำตาม ถ้าทำได้สำเร็จ นั่นคือการสร้าง Self Esteem ให้กับเด็ก ซึ่งจำเป็นมาก ๆ นะสำหรับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่..” ฉันนึกเห็นด้วย การรับรู้คุณค่าของตัวเองนั้นเป็นเรื่องสำคัญจริง ๆ สำหรับมนุษย์ทุกคน ถือเป็นภูมิคุ้มใจในการใช้ชีวิต...
#พื้นที่เรียนรู้สวนปู่สม
“บ้านท่ามะปราง ถ้าจะว่าด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ ที่ตรงนี้เป็นรอยต่อที่เป็นที่ราบแห่งแรกที่ติดเขาใหญ่..” พี่หนึ่งบอก (เจ้าขอสวน)“คนที่นี่เริ่มตั้งถิ่นฐานมาได้สักห้าสิบกว่าปี อพยพกันมา มีทั้งคนลาวโคราช คนไทยทุ่งจากบ้านแบด บ้านนา บางอ้อ ส่วนมากรุ่นนั้นก็จะเป็นการจับจองที่ทำกินกัน..” เราเดินผ่านป่ายูคาลิปตัสต้นสูงใหญ่ “ที่นี่ตอนแรก ๆ พ่อพี่ก็เริ่มจากปลูกยูคาลิปตัสแหละ” พี่หนึ่งอธิบาย“ตอนนี้ก็พยายามเอาออกไปเยอะแล้ว เพราะยูคาเป็นไม้ต่างถิ่น หากินเก่ง ตายยาก และแย่งอาหารของพืชอื่น ๆ พอเอาออกไปบ้างก็เริ่มลงไม้ผลบ้าง กล้วยบ้าง หรือบางส่วนก็ปล่อยให้กลับคืนเป็นป่า”ฉันมองป่ายูคาลิปตัสแล้วก็นึกในใจ เรือกสวนไร่นาหลายแห่งกลายเป็นพื้นที่ปลูกยูคาลิปตัส หรือต้นกระดาษ โดยมีการจูงใจให้เกษตรกรปลูกในที่ดินตัวเอง มีโรงงานมารับซื้อคืนเมื่อโตได้ขนาด แต่สิ่งที่ต้องแลกมาคือยูคาลิปตัสนั้นเป็นไม้ที่สามารถดูดซึมน้ำทางเรือนรากได้เก่ง ถ้าปลูกในที่แล้งจะดูดความชื้นไปจากดินในบริเวณนั้น ทำให้ต้นไม้อื่นรอบ ๆ ชะงักการเติบโต เดินมาสักพัก ก็มาถึงจุดไฮไลท์ของสวนปู่สม อุโมงค์ต้นไผ่ที่เขียวครึ้มอยู่เบื้องหน้า ทำเอาเราหลายคนอุทาน กิ่งไผ่สองด้านที่โค้งเข้าหากันเชื้อชวนให้เราเดินเข้าไปชม พื้นดินเบื้องหน้าถูกคลุมด้วยใบไผ่เป็นสีน้ำตาลอ่อนไล่เฉด แดดครึ้ม ๆ ของวันนี้ลอดผ่านกิ่งไผ่เบื้องบนลงมาเป็นลำแสงจาง ๆ “นี่มันเกียวโตชัดๆ!” ฉันพึมพำอยู่ในใจ พวกเราเดินมุดเข้าไปในป่าไผ่ มีเสียงคุยกันเบา ๆ บ้าง บางคนหยุดถ่ายรูปบ้าง พี่หนึ่งบอกว่าตอนแรกตั้งใจจะใช้พื้นที่ตรงนี้ เป็นพื้นที่ต้อนรับและทำกิจกรรม แต่ติดว่ามันอยู่ลึกเกินไป ลำบากเรื่องการจัดการพื้นที่ เลยเลือกใช้พื้นที่ด้านนอกแทน...