กิจกรรมแรกเริ่มขึ้น พวกเรามามุงกันที่โต๊ะสีธรรมชาติ เกรซผู้ซึ่งเป็นบาริสต้าชงเครื่องดื่มอยู่เปลี่ยนบทมาเป็นครูสอนได้อย่างคล่องแคล่ว ดูใจเย็นและค่อย ๆ อธิบายเกี่ยวกับที่มาที่ไปของสีต่าง ๆ จากพืชและหินไปจนถึงเทคนิคในการทำให้สีติดทนทานการเตรียมสีใช้ความอดทน สีธรรมชาติไม่เหมือนสีสำเร็จที่เราสามารถผสมน้ำใช้ได้เลยทันทีดอกไม้ใบไม้สีเขียว เหลือง แดง ให้ความงามต่างเฉดต่างโทนกัน เมื่อเอามาผสมกันบางทีก็เปลี่ยนเป็นสีอื่นเสียอย่างนั้น สีจากหินหรือดินมีความทึบแสงมากกว่า ผืนดินแต่ละแห่งเกิดเป็นpantone ที่ต่างกันอีก สิ่งเหล่านี้คือความสนุกและเสน่ห์ของสีธรรมชาติที่เชื่อว่าหลายคนอยากกลับไปลองทำที่บ้านตัวเอง พวกเราแบ่งกันผสมคนละสีสองสีแล้วเริ่มวาดลงในโปสการ์ดที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วเอาไปหนีบผึ่งไว้เรียงรายกันอยู่บนราว สตอรี่ของสีธรรมชาติในมุมมองของแต่ละคนออกมาในมุมที่ต่างกัน แม้จะเป็นสีจากการผสมชุดเดียวกัน ฉันมองโปสการ์ด..แล้วนึกอยากแต่งไฮกุประกอบสักบทหนึ่ง.. เทียบใบไม้แต่ละใบ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ทำได้ง่าย ๆ ใกล้ตัวเรามาก คนเราอาจเห็นต้นไม้ ชอบเดินป่า แต่เรากลับไม่ได้สังเกตเรื่องรูปร่างหน้าตาของใบไม้ใกล้ตัว เราอาจจะคุ้นเคยกับเถาตำลึงที่ขึ้นอยู่ข้างบ้าน แต่บางครั้งมันก็อธิบายยากว่าหน้าตาของโคนและปลายใบตำลึงตัวผู้และตัวเมียนั้นต่างกันอย่างไร? เราอาจจะไม่ได้สังเกตว่ามดแดงบนต้นมะม่วงนั้นเริ่มต้นสร้างรังของพวกมันได้อย่างไร? หรือว่าแมงมุมที่ชักใยอยู่ตามต้นไม้นั้นเป็นแมงมุมกระโดดใช่หรือไม่? กิจกรรมนี้เตือนเราเรื่องการสังเกตสิ่งเล็กน้อยรอบตัวได้ดีทีเดียว สิ่งเล็ก ๆ ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นระบบนิเวศน้อย ๆ รอบ ๆ ตัวเรา.. นิเวศแห่งมิตรสหาย เกือบหนึ่งวันเต็มกับกลุ่มใบไม้ ต้องบอกว่าเป็นหนึ่งวันที่คุ้มค่า อาหารและเครื่องดื่มรสดีที่คนทำใส่ใจเรื่องวัตถุดิบที่ต้องมีที่มาที่ไป กิจกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ถ้าจะสรุปถึงความเป็น “ใบไม้” จากสิ่งที่ได้สัมผัส นอกเหนือจากความเป็นนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่มีแฟนคลับมากมาย เรายังเห็นมิตรภาพอันแน่นแฟ้นของเพื่อนที่พัฒนาขึ้นผ่านความรักความชอบในธรรมชาติเหมือนกัน บ่มเพาะความผูกพันด้วยกิจกรรมค่ายสิ่งแวดล้อม ผ่านการร่วมทุกข์ร่วมสุข ใช้ความสนใจและความถนัดของแต่ละคนมาช่วยกันจนเกิดเป็น...
Tag: <span>กลุ่มใบไม้</span>
#ร้านคาเฟ่ที่ไม่ได้ขายแค่รสชาติของน้ำ
ทำไมเราถึงนิยามคาเฟ่ของกลุ่มใบไม้ที่ไม่ใช่แค่ขายรสชาติของน้ำ เพราะเรานับว่าเป็นคนชอบนั่งคาเฟ่คนหนึ่งและเราเองก็ไปหลายร้านมาแล้วโดยทั่วๆ ไปแล้วร้านคาเฟ่ที่เราเจอเป็นร้านที่ขายรสชาติของน้ำและมีมุมถ่ายรูปที่เป็นตัวเรียกให้ลูกค้าเข้าร้านเป็นหลัก แต่ในใจของฉันลึกๆกำลังตามหาคาเฟ่ที่เป็นมากกว่าสถานที่ที่ขายน้ำและถ่ายรูปและฉันก็เจอแล้วด้วยอาจจะไกลจากบ้านของฉันแต่ฉันก็อยากเก็บเรื่องราวการไปร้านคาเฟ่ของเก่ง ครั้งนี้ไว้เป็นความทรงจำดีๆที่ครั้งหนึ่งฉันไปนครนายกแล้วไปเจอสิ่งทำให้ใจของฉันเต้นแรงเพราะเรื่องราวที่รวมตัวกันจนเป็นกลุ่มใบไม้และร้าน Tropical E-co Cafe ตอนเก่งเล่าสิ่งที่ตัวเองทำฉันเห็นสายตาและความมุ่งมั่นในการทำงานสายธรรมชาติที่แท้จริงของกลุ่ม ด้วยสโลแกนง่าย” ความงาม ความจริง ความดี ” และเก่งก็เล่าว่า ทำยังไงก็ได้ทำให้คนเห็นความงามของธรรมชาติเพราะการเห็นความงามมันง่ายกว่าทำให้คนไม่เห็นความไม่งาม พอเห็นความงามก็ต้องทำให้เห็นความจริงด้วยว่าธรรมชาติไม่ใช่มีแค่ความงาม ธรรมชาติมันมีความเสมอภาพกับทุกคนและท้ายสุดความจริงบางอยากมันทำให้เราลุกขึ้นมาทำมันเป็นความดี นั่นแหละเป็นที่มาที่ไปของการสร้างอาสาสมัครที่มีคุณภาพของกลุ่มใบไม้ ส่วนTropical E-co cafe สร้างเพื่อเป็น Space ที่สนับสนุนการทำกิจกรรมทุกรูปแบบและทางกลุ่มใบไม้ก็ออกแบบกิจกรรมที่ให้ลูกค้าที่มาที่คาเฟ่ได้เรียนรู้ธรรมชาติผ่านงานศิลปะ หรือ วิทยาศาสตร์อีกด้วย วันนั้นพวกเราเลยกลายเป็นลูกค้าที่มาเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบร้านด้วยการเป็นนักสำรวจที่ไม่น้อยแล้ว ผ่านกิจกรรมการจำแนกใบไม้ ดูเหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย และกิจกรรมที่เราชอบที่สุดคือสีจากธรรมชาติ ” สีจากธรรมชาติ” สีที่ได้จากดอกไม้ ใบไม้และก้อนหิน พวกเราสนุกกับตำดอกไม้เพื่อสกัดน้ำออกมา ขูดขีดหินกับกระดาษทรายและท้ายที่สุดคือการสร้างสรรค์งานศิลปะโดยใช้สีที่พวกเราช่วยกันทำ นี้แหละเป็นร้านคาเฟ่ที่มากกว่าขายรสชาติของน้ำแต่ขายความสนุกและการเรียนในอีกรูปแบบหนึ่ง “แหล่งเรียนรู้นั่นเกิดได้ทุกที่ ไม่ใช่แค่ห้องเรียนสี่เหลี่ยมเท่านั่น”...
รับสมัคร คนชอบป่า มาเป็นอาสา สื่อสารธรรมชาติ
เครือข่ายเขาใหญ่ดีจัง ร่วมกับผืนป่าเขาใหญ่… กำลังตามหาผู้มีหัวใจอาสาและเห็นคุณค่าของผืนป่าและธรรมชาติ จนอยากบอกต่อ เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสาสมัครนักสื่อความหมายธรรมชาติ
อาสาสมัครสร้างนิทาน เรื่องเล่าเขาใหญ่
กลุ่มไม้ขีดไฟ และครูปรีดา ปัญญาจันทร์ อยากชวนมาช่วย “เขาใหญ่” เพราะเขาใหญ่มีเรื่องเล่า แต่ใครเล่า จะมาช่วยเล่าต่อ ชวนมาช่วยกันทำนิทาน เพื่อเป็นสะพานให้เด็ก รักษ์สิ่งแวดล้อม เข้าใจธรรมชาติ โดยการอำนวนการเรียนรู้ สร้างเรื่องเล่า จากครูปรีดา ปัญญาจันทร์ โดยจะพาทุกท่านเข้าป่าหาเรื่องเล่า-จากเรื่องที่โดนใจ-จะทำอย่างไรให้เป็นนิทาน การวางโครงเรื่องเล่า-การออกแบบตัวละคร-สี และการจบเรื่องอย่างไร ให้โดน กำหนดการ วันที่ 19-20 กันยายน 2563 ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วันที่ 18 กันยายน 2563 18.00 -24.00 น. เดินทางมาพัก ณ สวนไฟฝัน รอขึ้นอุทยานพร้อมกัน 19 กันยายน 2563 6.30 น. ทานอาหารเช้า ณ สวนไฟฝัน 8.00 น. เดินทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ 10.00 น. รู้จักเขาใหญ่ /ชมสื่อ /แนะนำกระบวนการ/รู้จักกัน...