หยุดเร่งสาร เร่งโต ให้เด็ก

หยุดเร่งสาร เร่งโต ให้เด็ก

nnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnnn

         ความคาดหวังของคนส่วนหนึ่งในสังคม  เมื่อกล่าวถึงระบบการศึกษาคือ  คือภาพของเด็กใส่แว่น  ตั้งใจเรียน จดจ่อหน้ากระดาน  เมื่อจบได้ทำงานในห้องแอร์
หรืออาจกล่าวให้เห็นภาพคือ  ได้เป็นเจ้าคนนายคนระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องคอบสนองความต้องการเหล่านั้น  ใครทำได้เร็ว  ได้ไว
คนนั้นชนะ  ด้วยคะแนน  และผลการสอบ  และตามมาด้วยโรงเรียนที่มีชื่อเสียง

            เช่นเดียวกับการปลูกผักตลาดในปัจจุบัน  ที่ลงทุนทำแปลง  ซื้อเมล็ดพันธ์ราคาแพง และตามด้วยปุ๋ย เร่งใบ เร่งดอก เพื่อให้ได้ผลผลิตดี  ได้ผลผลิตไว
แต่อีกมากสวนที่ผักไวต่อโรค เน่าง่าย ใบทะลุ แถมสารเคมีปนเปื้อน แถมให้ผู้บริโภค  และยังไม่นับคุณค่าทางโภชนาการที่จะมีมากหรือไม่ อีกเรื่องหนึ่ง

         ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยโดยโดย ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ขยันกิจ    ประธานสาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยได้กล่าวในงาน แถลงข่าว  เรื่อง ปฐมวัย  เรียนอย่างไรให้คุ้มค่า ว่า

       “เด็กปฐมวัยกำลังถูกเร่งรัดให้มีพัฒนาการที่เกินวัยอย่างไม่สมดุลซึ่งจะส่งผลเสียต่อการ พัฒนาทักษะด้านการเรียนรู้ของเด็กในอนาคตเช่น
เร่งรัดพัฒนาการด้านวิชาการที่เกินวัยเพื่อ โอกาสในการเข้าเรียนต่อในโรงเรียนประถมชื่อดังจึงเกิดปรากฎการณ์กวดวิชาตั้งแต่อนุบาล
ทั้งในช่วงวันหยุดและวันปิดเทอม เร่งเรียนเขียนอ่าน เกินพัฒนาการเด็กซึ่งเกิดจาก ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จากคาดหวังของผู้ปกครอง
ที่ต้องการให้เด็กอนุบาล อ่านออกบวกลบเลขได้ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละ ช่วงวัย

รวมถึงการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้ด้านเนื้อหาสาระ ทำให้ระบบการเรียนการสอนเด็ก ในระดับอนุบาลและประถมศึกษาตอนต้น
มุ่งเน้นการท่องจำความรู้ ซึ่งเป็น การสูญเสียโอกาสในการเรียนรู้จากหน้าต่างแห่งโอกาส เพราะเด็กในช่วงปฐมวัย
สมองจะเปิดรับการเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยเฉพาะทักษะด้านพฤติกรรม เช่น ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางอารมณ์
การพูดและการเคลื่อนไหว

แต่เมื่อเด็กถูกพัฒนาทักษะเพียงด้านเดียวส่งผลให้เด็กขาดแรงจูงใจการเรียนรู้ ขาดทักษะในการทำงานร่วมกับคนอื่น และขาดทักษะความรับผิดชอบ
ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นการเสียโอกาสที่มีอยู่อย่างจำกัดในการสร้างทักษะทางด้านพฤติกรรม
ซึ่งจะส่งผลต่อคุณลักษณะความสำเร็จด้านการศึกษาและการทำงานในอนาคตของเด็ก”

*งานแถลงข่าว “ปฐมวัย : ลงทุนอย่างไรให้คุ้มค่า” โดย ผศ.ดร.ศศิลักษณ์ ขยันกิจ    ประธานสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม ที่อาคารไอบีเอ็ม โดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.)ร่วมกับเครือข่ายคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์และครูปฐมวัย

          ทันที่ครูบอกให้เด็กๆจับดินสอ  และเริ่มเขียน กอไก่ กอกา  เด็กที่พัฒนาทางกล้ามเนื้อมือยังไม่ได้  นั่นคือความยาก  นั่นจะเป็นคำตอบแรกที่เด็กจะค้นพบ คือคำว่า
“ยาก”  เมื่อเด็กต้องเริ่มสะสมสิ่งที่ยากเข้ามาเรื่อยๆ  นั่นอาจส่งผลให้เขาในระยะยาวแต่ในทางกลับกัน  ถ้าเราเปิดโอกาสให้เด็กได้ค่อยๆประสบความสำเร็จจากสิ่งง่ายๆ
วางเงื่อนไขไปตามความเหมาะสมของแต่ล่ะคน  เด็กๆคนนั้นเขาจะเป็นคนที่โชคดีมากๆ  ที่ในใจของเขาจะมีความภาคภูมิใจ  ความมั่นใจ  ประตูแห่งการเรียนรู้จะเปิดกว้างสำหรับเขา

            ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องหันกลับมาตระหนักต่อความจริงทางธรรมชาติ  หยุดเร่งโต  เร่งดอก ยอมรับความแตกต่างของแต่ละคน  และจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับวัย
กับพัฒนาการ  เปิดโอกาสให้เขาได้ค่อยๆเติบโตตามวัย  งดงามตามพัฒนาการ เพราะพวกเค้าล้วนคืออนาคตของพวกเรา

ทีมการศึกษาบนฐานชุมชน  โดยกลุ่มไม้ขีดไฟ ธันวาคม  2559