รอบปีที่ผ่านมากลุ่มไม้ขีดไฟได้มีโอกาสเดินทางไปพบปราชญ์ในภูมิภาคต่างๆเพื่อหาคำตอบในการทำงานพัฒนาเด็กและสังคมผ่านมุมมองปราชญ์ชาวบ้านเพื่อไปฟังข้อคิดและขอความเห็นในการทำงานคนแรกที่เราได้พบคือ พ่อคำเดื่อง ภาษี ปราชญ์ชาวบุรีรัมย์ ลองฟังทัศนะของท่านต่อชีวิตและการทำงานพัฒนาสังคม
พ่อคำเดื่อง บอกว่า เรื่องเด็กเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งตัวแกเองก็บอกว่าไม่สามารถทำได้ ไม่ถนัด พูดแล้วเด็กไม่ฟังเด็กไม่มีประสบการณ์แต่ก็ให้แนวทางว่าการเรียนรู้ของเด็กควรอยู่ในชุมชนเรียนรู้จากคนที่หลากหลายและควรเน้นที่การสร้างพื้นฐานที่ดีงามให้กับเด็กเช่น ความงดงามรื่นรมณ์ในธรรมชาติ การสร้างประสบการณ์ในชีวิตชนบท โดยไม่เน้นเทคนิคหรือความรู้เพราะประสบการณ์จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เขาเติบโต ตั้งคำถาม เรียนรู้ เผชิญโลกได้อย่างปรกติ ไม่ตกเป็นเหยื่อวัตถุนิยม
- การงานในปัจจุบัน
ดูแลศูนย์เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง โดยเน้นที่การฝึกอบรมในด้านแนวคิดและเทคนิคการทำเกษตรพึ่งตนเองมีผู้เข้าร่วมมาจาก กลุ่มชาวบ้านโดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ปีล่ะประมาณ 2,000 คน และจาก อบต. สถานศึกษา และมหาวิทยาลัย
- ความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้ พ่อคำเดื่องภาษี
พ่อคำเดื่อง เริ่มต้นเรียนรู้การพึ่งตนเองจากวิกฤตในชีวิต ที่แกมีหนี้จากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว(ปลูกมัน) ยิ่งทำก็ยิ่งจน ยิ่งเจ็บประกอบกับเป็นคนสนใจธรรมมะ และเป็นนักตั้งคำถามกับปรากฏการณ์รอบตัว และมุ่งสนใจคุณค่าที่แท้ ที่จริงสูงสุด จึงทำให้พ่อคำเดื่องเป็นคนบ้าในสายตาคนรอบตัว (คุณค่าที่แท้ เช่น อะไรสำคัญที่สุดในชีวิต ถ้าชีวิตสำคัญที่สุด เรื่องเงิน เรื่องอื่นๆก็ไม่สำคัญ)
จากคนบ้าจึงเริ่มใช้ชีวิตแบบใหม่เน้นการพึ่งตนเองมากกว่าการมุ่งหาเงิน ทำให้ค้นพบการทำเกษตรแบบธรรมชาติเช่นการทำนาโดยไม่ไถนา เอาฟางคลุม และได้ผลผลิตอย่างน่าพอใจ ตนทำให้สามารถปลดหนี้ได้อย่างรวดเร็ว
- จากการทดลองใช้ชีวิต ทำให้มีบทเรียนจำนวนมากที่พร้อมจะแบ่งปันให้ผู้อื่น
ปี 2550 พ่อคำเดื่องเริ่มเป็นที่สนใจของสังคมในแง่ของคนทำนาที่ไม่ไถนาและหว่างปีนั้นเองที่ ฟูกูโอกะ เจ้าของหนังสือปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียวเดินทางมารับรางวัลในประเทศไทยและมีความต้องการที่จะดูเกษตรธรรมชาติในเมืองไทย พ่อคำเดื่องจึงเป็นพื้นที่ๆคนรสนา โตสิสกุลผู้จัดงานได้เลือกให้คุณฟูกูโอกะ ลงพื้นที่และนั่นทำให้สื่อจากสำนักต่างๆได้ลงพื้นที่และได้รู้จัก ทำให้พ่อคำเดื่อง เป็นที่รู้จักในแวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับการเกิดขึ้นของกองทุนซิพ(กองทุนเพื่อการลุงทุนทางสังคม) โดยการขับเคลื่อนของ อาจารย์อเนก นาคะบุตร ได้ช่วยส่งเสริมให้เกิดแหล่งเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง ที่บ้านพ่อคำเดื่อง โดยการสนับสนุน อาคารฝึกอบรมและ สนับสนุน ทุนในการส่งให้กลุ่มชาวบ้านเข้ามาร่วมฝึกอบรมโดยมีเป้าหมายปีล่ะ 2,000 คน ซึ่งปัจจุบัน ลดลงเหลือปีล่ะ 200 คน
- นิยามแหล่งเรียนรู้คือ ไม่ได้คำตอบ พ่อบอกว่าไม่รู้จักเลย
การออกแบบหลักสูตรเน้นที่แนวคิดเปลี่ยนแนวคิดให้ได้ก่อน เทคนิคเป็นเรื่องรองโดยใช้เรื่องธรรมมะเป็นแกนกลางพ่อคำเดื่อง เน้นว่าถ้าเราสามารถท้าทายตัวเองได้และสามารถสะสมความสำเร็จจากน้อยไปมากโอกาสที่จิตใจจะเข้มแข็งจะเป็นไปได้มากการอบรมจึงเริ่มที่แนวคิดและการทดลองลงมือปฏิบัติ หักห้ามในต้นเอง ค่อยลงเนื้อหาเชิงเทคนิคการทำเกษตร เป็นเรื่องรองเทคนิคสำคัญของพ่อคำเดื่องคือการมุ่งกระทำงานให้มากกับคนที่เป็นบัวพ้นน้ำเพราะคนเหล่านี้ถ้าเข้าใจเขาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและสามรถเป็นแกนนำทำตัวอย่างความสำเร็จให้สามรถจำต้องได้และเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆได้ต่อไป
ทิศทางในอนาคตของแหล่งเรียนรู้ พ่อให้แนวทางว่าตอนนี้ อบต.กำลังถูกกล่าวหาว่าการนำชาวบ้านไปดูงานเป็นกิจกรรมฟุ่มเพือยไม่ได้ผล ดังนั้นจึงมี อบต.จำนวนมากเริ่มติดต่อเข้ามาโดยใช้งบประมาณการศึกษาดูงาน (โดยต้องเสียค่าฝึกอบรม 5 วัน 4 คืน จำนวน3,000บาท/หัว) และมีแนวโน้มว่าแหล่งเรียนรู้จะเป็นแนวทางหนึ่งของการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ๆ (ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์)
- การบริหารแหล่งเรียนรู้ให้คนเข้ามาเรียนรู้
พ่อคำเดื่องไม่ได้มีแผนเรื่องนี้ชัดเจนนักแต่จากการพูดคุยทำให้เห็นว่า พ่อคำเดื่องได้รับการยอมรับในวงกว้างเข้าไปเป็นที่ปรึกษาของรัฐมนตรีถูกเชิญให้ไปให้ความเห็นให้แนวคิดนายธนาคารและมีบทบาททางด้านการพัฒนาสังคมเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ที่มีอำนาจดูแลนโยบายสามารถที่จะช่วยสนับสนุนให้คนเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างไม่สะดุด
- ความเห็นเรื่องแหล่งเรียนรู้เพื่อเด็กและครอบครัว
พ่อบอกว่าเรื่องเด็กเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งตัวแกเองก็บอกว่าไม่สามารถทำได้ ไม่ถนัด พูดแล้วเด็กไม่ฟัง เด็กไม่มีประสบการณ์แต่ก็ให้แนวทางว่าการเรียนรู้ของเด็กควรอยู่ในชุมชนเรียนรู้จากคนที่หลากหลายและควรเน้นที่การสร้างพื้นฐานที่ดีงามให้กับเด็กเช่น ความงดงามรื่นรมณ์ในธรรมชาติ การสร้างประสบการณ์ในชีวิตชนบท โดยไม่เน้นเทคนิค หรือความรู้ เพราะประสบการณ์จะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้เขาเติบโต ตั้งคำถาม เรียนรู้ เผชิญโลกได้อย่างปรกติ ไม่ตกเป็นเหยื่อวัตถุนิยม
- สิ่งที่พ่อคำเดื่องกำลังลงมือทำ
“เมืองบุรีรัมย์น่าอยู่ที่สุดในโลก” โดยการชักชวนผู้คนให้เริ่มปลูกต้นไม้ ใช้ชีวิตพอเพียง เพราะวันที่ต้นไม้หมดโลกคนมีเงินล้านนึง ก็ไม่สามารถซื้อต้นไม้ ซื้อความเย็นจากป่าได้ เป้าหมายเรื่องนี้ 300 ปีและก็มุ่งสร้างการเรียนรู้เรื่องเกษตรทางเลือก / พลังงานทางเลือก/สุขภาพทางเลือก/การท่องเที่ยวทางเลือกเพราะจากนี้ไป ต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะต้นทุนธรรมชาติ และวิถีชีวิตที่มีความสุข
บันทึกการพูดคุยโดย กลุ่มไม้ขีดไฟ ปี 2559